สาระน่ารู้เรื่องสายตา, เลือกเลนส์สายตา, เลนส์โปรเกสซีฟ

‘เลนส์โปรเกรสซีฟ’ ยี่ห้อไหนดี ? เลือกอย่างไรให้ถูกต้อง

progressive-lenses-which-brand-is-good-how-to-choose-right

เดี๋ยวนี้เมื่อพูดถึง ‘เลนส์โปรเกรสซีฟ’ ทุกคนรู้ว่านี่คือเลนส์ที่สามารถคืนความคมชัดทุกระยะ ทั้งระยะไกล กลางและใกล้ เพราะถูกออกแบบพื้นผิวเลนส์ให้มีการเปลี่ยนแปลงความโค้งแบบต่อเนื่องในเลนส์เพียงชิ้นเดียวแบบไร้รอยต่อ

แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าโครงสร้างของเลนส์โปรเกรสซีฟแบ่งได้ 2 แบบ คือ ‘Hard Design’ และ ‘Soft Design’ ซึ่งแต่ละแบบล้วนมีจุดเด่น ข้อด้อย และความเหมาะสมต่อการใช้งานที่ต่างกัน

Hard Design :

โครงสร้างแบบ Hard Design จะออกแบบโดยให้ความสำคัญกับ Clear Zone ที่กว้าง ทำให้เวลาที่มองไกลและใกล้จะให้ภาพที่คมชัด รายละเอียดของภาพชัดเจน แต่ Hard Design จะมีการเกลี่ย Unwanted cylinder เข้าไปในลักษณะที่ไปกองรวมกันบริเวณด้านข้าง ส่งผลให้ภาพด้านข้างมัวและบิดเบี้ยวมากกว่าปกติ เวลาเหลือบมองด้านข้างเร็วๆ จะมีความวูบวาบมาก ใช้เวลาในการปรับตัวนาน Hard Design เหมาะกับใคร ? จุดเด่นของโครงสร้าง Hard Design จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานที่มีรายละเอียดสูง เน้นความคมชัด เช่น งานเอกสาร หรือถ้าทำงานหน้าจอคอมก็ต้องเป็นจอที่ไม่ขนาดไม่กว้างมาก ไม่ควรเป็นงานที่ต้องเหลือบตาไปมาอย่างรวดเร็ว

Soft Design :

โครงสร้างแบบ Soft Design จะมีการกระจาย Unwanted Cylinder บางส่วนที่ใช้งาน และไม่กระจุกอยู่แค่ที่ใดที่หนึ่ง ข้อดีคือ ให้ภาพบิดเบี้ยวน้อยกว่า วูบวาบน้อยกว่า มองเห็นภาพนุ่มนวลสบายตา ใช้ระยะเวลาปรับตัวสั้น แต่ก็ต้องแลกมากับการมองไกล-ใกล้ที่มีความชัดลดลงเล็กน้อย

Soft Design เหมาะกับใคร ? คนที่ทำกิจกรรมที่ต้องเหลือบตาไปมาบ่อยๆ เช่น ขับรถเป็นประจำ เล่นกีฬา ทำงานหน้าจอคอมแบบที่ต้องกวาดสายตาไปมาในการทำงาน ด้วยจุดเด่นของเลนส์ทำให้ปรับตัวได้ง่ายกว่า ภาพวูบวาบน้อย

 

สรุป Hard Design หรือ Soft Design ดีกว่ากัน ?

นักทัศนมาตรของ Occura แนะนำว่า ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่มีวิถีชีวิตเร่งรีบ และมีกิจกรรมหลากหลายที่ต้องเคลื่อนไหวดวงตาอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าเกินครึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มีมุมมองกว้าง หรือแม้แต่สมาร์ททีวีรุ่นใหม่ๆ ก็ทำหน้าจอให้กว้างมากขึ้น โครงสร้างเลนส์แบบ Modern Soft Design ตอบโจทย์กว่า เพราะจะช่วยให้ภาพที่ได้ตลอดทั้งวันนุ่มนวลในทุกระยะ และรู้สึกถึงภาพบิดเบื้อนรอบข้างได้น้อยกว่านั่นเอง

 

ปัจจุบันยี่ห้อเลนส์โปรเกรสซีพที่มีโครงการเลนส์แบบ Modern Soft Design ได้แก่ Nikon และ Hoya ส่วนยี่ห้อเลนส์โปรเกรสซีพแบบ Modern Hard Design ที่แนะนำคือ Rodenstock และ Zeiss Precision ส่วนยี่ห้อ Essilor และ Zeiss SmartLife เป็นโครงสร้างแบบ Balance Design หรือดีไซน์ร่วมกันระหว่าง Hard กับ Soft นั่นเอง สำหรับรุ่นที่ Occura แนะนำคือ รุ่น Freeform ขึ้นไป เนื่องจากเป็นรุ่นที่เริ่มมีการนำข้อมูลค่าสายตาเฉพาะบุคคลไปคำนวนเพื่อผลิตเลนส์ เช่น จุดศูนย์กลางตาดำ สรีระตา ระยะห่างระหว่างกึ่งกลางของตาดำทั้งสองข้าง ความสูงจากขอบล่างของเลนส์ถึงกลางตาดำ รูปทรงและค่า parameter ของกรอบ รวมถึงพฤติกรรมการใช้สายตา ค่าเหล่านี้ช่วยบาลานซ์การมองเห็นของตาแต่ละข้างให้ทำงานได้ดี รวมภาพได้ง่าย ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

สำหรับเลนส์โปรเกรสซีฟรุ่นอื่น และรายละเอียดเชิงลึกต่างๆ สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ https://www.occuravision.com/post/progressivelens

เสริมออปชั่นให้กับเลนส์โปรเกรสซีฟ

หลังจากที่เลือกยี่ห้อและรุ่นได้แล้ว สามารถเสริมออปชั่นที่ต้องการให้กับเลนส์โปรเกรสซีฟ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น อาทิ

· Blue Light Block ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยปกป้องแสงสีฟ้าจากจอดิติทัลซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตา จึงเหมาะกับคนที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ โดยแต่ละยี่ห้อจะมีระดับความอมเหลืองในเนื้อเลนส์ที่ต่างกัน

อ่านรายละเอียดแต่ละยี่ห้อเพิ่มเติมได้จาก https://www.occuravision.com/post/types-of-blue-light-cut-lens

· Photochromic หรือ Transition คุณสมบัติหลักๆ คือ เปลี่ยนสีเมื่อโดนแสง UV หรือ อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป จะช่วยลดปริมาณแสงที่เข้าสู่ดวงตา เหมาะสำหรับผู้ไวต่อแสงจ้า มีให้เลือกทั้งแบบเข้มมากและแบบเข้มธรรมดา

แบบเข้มธรรมดา จุดเด่นคือ จะมีความใสขณะอยู่ในที่ร่มและคืนสีจากเข้มไปใสได้เร็ว แต่จะมีความไวในการเปลี่ยนสีน้อยกว่า เช่น เวลาอยู่ในรถยนต์ที่มีฟิล์มติดกระจำกรอง UV อยู่แล้วจะไม่เปลี่ยนสี

แบบเข้มมาก จุดเด่นคือ มีความไวในการเปลี่ยนสีที่เร็วกว่าและความเข้มสูงสุดที่มากกว่า เหมาะสำหรับคนที่ขับรถยนต์เป็นประจำ แต่จะคืนสีจากเข้มไปใสได้ช้ากว่า

· CMIQ Sun คุณสมบัติหลักคือ เนื่อเลนส์ติดสีในที่ร่ม 40-50% และเข้มสูงสุด 90% เมื่อโดนแสง UV จึงเหมาะกับคนที่ไวต่อแสงมากเป็นพิเศษ และต้องทำงานในที่ร่มที่มีแสงจ้า เช่น แสงจากสปอร์ตไลท์ ซึ่งฟังก์ชั่นนี้เป็นสิทธิบัตรเฉพาะของยี่ห้อ Rodenstock เท่านั้น

· Tint lens เป็นการย้อมสีเลนส์ให้เหมือนแว่นกันแดด แต่ยังคงมีค่าสายตาและสามารถเลือกระดับความเข้มของสีได้อีกด้วย

· การย่อบางเลนส์ Index 1.60 – 1.74 ตัวเลขยิ่งมากเลนส์ยิ่งบางขึ้น ทางเลือกสำหรับคนที่มีค่าสายตาสูงแต่อยากได้เลนส์บางๆ และสามารถทำร่วมกันกับออปชั่นอื่นๆ ได้

ใครที่มียี่ห้อและรุ่นในใจแต่ยังไม่มั่นใจว่าที่เลือกนั้นตอบโจทย์การใช้งานหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษานักทัศนมาตรเพื่อตรวจวัดค่าสายตาที่ถูกต้องก่อนตัดสินใจเลือกอีกครั้ง

 

ติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสายตาและตรวจวัดค่าสายตาได้ที่ Occura

 


 

ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision

100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320

Related Posts