สายตาเบลอ มองไม่ชัด หลายคนคงเคยประสบปัญหาเหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ถึงเวลาต้องตัดแว่นแล้ว แต่ค่าสายตาสั้นเท่าไหร่ถึงควรตัดแว่น ? บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับระดับของสายตา ว่าค่าสายตาสั้นมีกี่ระดับ และถ้าต้องการตัดแว่น มีปัจจัยใดในการเลือกแว่นสายตาให้เหมาะสมกับตนเองบ้าง
ภาวะสายตาสั้น คืออะไร ?
ภาวะสายตาสั้น (Myopia หรือ Nearsightedness) คือภาวะที่แสงจากวัตถุหรือภาพนั้น ๆ ตกกระทบที่หน้าจอประสาทตา ก่อนถึงจุดรับภาพ ทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ ๆ ได้ชัดเจนปกติ แต่หากมองในระยะไกลจะไม่ชัด หรือเห็นภาพเบลอ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต
ซึ่งในการวัดค่าสายตานั้น จะใช้หน่วยที่ชื่อว่า ไดออปเตอร์ (Diopter หรือ D) ที่แสดงถึงกำลังหักเหแสงของเลนส์ เช่น สายตาสั้น 100 แพทย์จะเรียกว่า สายตาสั้น – 1 ไดออปเตอร์ (Diopter)
ค่าสายตาสั้น มีเท่าไหร่บ้าง สั้นระดับไหนถึงควรใส่แว่น ?
โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีค่าที่แน่นอนว่าต้องสั้นเท่าไหร่จึงควรใส่แว่น แต่ควรพิจารณาตัดแว่นเมื่อรู้สึกว่าภาวะสายตาสั้นกำลังส่งผลต่อการใช้ชีวิต แต่สายตาสั้นจะมีกี่ระดับนั้น มีรายละเอียดดังนี้
สายตาสั้นตั้งแต่ -0.25 ถึง -0.50
ช่วงที่มีค่าสายตาสั้นเล็กน้อย จะเลือกใส่แว่นหรือไม่ใส่ก็ได้ เนื่องจากสายตาจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสายตาปกติ แต่หากการมองเห็นเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ขับรถช่วงกลางคืนมองเห็นหรือตัดสินใจยากกว่าช่วงกลางวัน ควรจะหยิบแว่นขึ้นมาใส่ เมื่อเลิกขับรถก็สามารถถอดเก็บได้
สายตาสั้นตั้งแต่ -0.75 ถึง -1.00
ช่วงที่ค่าสายตาสั้นแบบก้ำกึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเลือกไม่ใส่แว่น เนื่องจากรู้สึกไม่คุ้นชิน โดยระดับสายตาสั้นในช่วงนี้ จะมีความแตกต่างของความคมชัดระหว่างกลางวันกับกลางคืน ดังนั้น เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจต้องใส่แว่นในช่วงกลางคืนบ้าง เพื่อช่วยลดการเพ่งมอง ป้องกันสายตาอ่อนล้า
รู้หรือไม่ ! สายตาสั้น กับ สายตาเอียง มีโอกาสเกิดขึ้นพร้อมกันได้ หากมองเห็นไม่ชัดเจน ควรเข้ารับการตรวจสายตา เพื่อการสวมใส่แว่นที่เหมาะสมกับค่าสายตาที่สุด
สายตาสั้นตั้งแต่ -1.25 ถึง -2.00
ช่วงที่มีค่าสายตาเริ่มมองเห็นไม่ชัดในบางช่วง หรือต้องมองใกล้ขึ้น ขอแนะนำว่าควรใส่แว่นตลอดเวลา เพื่อป้องกันตาทำงานหนักและอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งหากปล่อยเอาไว้ อาจทำให้มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หยีตา ขยิบตา ขมวดคิ้วจนเสียบุคลิก
รู้หรือไม่ ! ยิ่งแสงน้อย ยิ่งมองไม่ชัด ทำให้ขาดความมั่นใจ โดยเฉพาะการขับรถกลางคืน เป็นสัญญาณเริ่มต้นของปัญหาสายตาสั้นตอนกลางคืน
สายตาสั้นตั้งแต่ – 3.00 ขึ้นไป
ระดับค่าสายตาสั้นตั้งแต่ – 3.00 ขึ้นไป เป็นช่วงที่มีผลกับการมองเห็นมากขึ้น จึงควรใส่แว่นตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ตาเมื่อย ตาล้า และช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการมองเห็นไม่ชัดด้วย
อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่ามีอาการผิดปกติกับดวงตา เริ่มมองเห็นไม่ชัด โฟกัสไม่ได้ ควรไปพบคุณหมอนักทัศนมาตรเพื่อตรวจวัดสายตา วินิจฉัยถึงสาเหตุที่แท้จริงและหาแนวทางแก้ไขต่อไป ติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสายตาและตรวจวัดค่าสายตาได้ที่ Occura
ปัจจัยการเลือกแว่นสายตาที่เหมาะสม
การเลือกแว่นสายตาที่เหมาะสมนั้น ไม่ได้ดูจากความชอบของกรอบแว่นเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น ขนาดของกรอบแว่นที่สอดคล้องกับความหนาของเลนส์ต่อค่าสายตานั้น ๆ ที่ต้องคำนึงถึงด้วย เพื่อให้ได้แว่นตาที่ใส่แล้วสบายตา ช่วยให้การมองเห็นชัดเจน และเหมาะกับสไตล์ของเราที่สุด
การตรวจอาการสายตาสั้นโดยนักทัศนมาตร
สิ่งสำคัญที่สุดคือการไปตรวจวัดค่าสายตากับนักทัศนมาตรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อทราบค่าสายตาที่ถูกต้อง อีกทั้งแว่นสายตาที่ได้ จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาสายตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือหากมีปัญหาความผิดปกติของค่าสายตาอื่น ๆ เพิ่มเติม จะให้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
ร้านแว่นตาที่มีคุณภาพ
เลือกร้านแว่นตาที่มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และมีบริการวัดสายตาโดยคุณหมอนักทัศนมาตรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าได้แว่นตาที่มีคุณภาพ ตรงตามค่าสายตา และใส่สบาย ใช้ชีวิตได้คล่องตัว
สำหรับใครที่มีความผิดปกติในการมองเห็น หรือเกิดปัญหาสายตาสั้น แต่ยังไม่แน่ใจว่าค่าสายตาสั้นมีเท่าไหร่บ้าง และควรตัดแว่นไหม ? สามารถเข้ามาปรึกษากับเราได้ที่ร้านโอคูระ (Occura Vision) ร้านแว่นตาที่เน้นการดูแลและให้บริการตัดเลนส์สายตาราคาเป็นกันเอง พร้อมบริการตรวจวัดสายตาแบบครบวงจรโดยนักทัศนมาตร ที่คัดสรรกรอบแว่นสายตาดีไซน์สวย น้ำหนักเบา หลากหลายสไตล์มาให้ได้เลือกเป็นเจ้าของ เหมาะสมกับทุกการใช้งานและไลฟ์สไตล์ของคุณ
สนใจตัดเลนส์แว่นสายตา ราคาคุ้มค่า คุณภาพดี สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-645-0192 หรือทาง LINE @occura
ข้อมูลอ้างอิง:
- สายตาสั้น อาการ สาเหตุ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน แนะนำโดยจักษุแพทย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 จาก https://samitivejchinatown.com/th/article/eyes-lasik/Myopia