ในปัจจุบันภาวะสายตาสั้นในตอนกลางคืน ( Night Myopia ) เริ่มมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากขึ้นเนื่องจากเราใช้ชีวิตในเวลากลางคืนมากขึ้น หากมีภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนก็จะทำให้การมองเห็นแย่ลง มองไม่ชัด เห็นแสงฟุ้งกระจายในเวลากลางคืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจเช็คค่าสายตาตอนกลางวันและตอนกลางคืนที่ถูกต้อง
ลักษณะของอาการของภาวะสายตาสั้นในตอนกลางคืน
- กลางวันมองเห็นชัดปกติแต่มองไม่ชัดตอนกลางคืน
- เห็นแสงฟุ้งกระจายมากกว่าปกติในตอนกลางคืน เช่น แสงไฟจากรถที่ขับสวนมาหรือไฟจราจร
การตรวจอาการสายตาสั้นตอนกลางคืน
การเกิดสายตาสั้นในตอนกลางคืน ( Night Myopia ) มีหลายปัยจัยร่วมกันดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยเลนส์เฉพาะบุคคล ที่มีเทคโนโลยี Wave front
สภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนสามารถตรวจเช็คได้ด้วยเครื่อง WAM และแก้ไขได้ด้วยเลนส์เฉพาะบุคคลที่มีเทคโนโลยี wavefront
อาการสายตาสั้นตอนกลางคืน สามารถตรวจได้ ด้วยเครื่อง WAM ( Wave Analyzer Medica 700 ) จากฝรั่งเศส ที่ใช้ Wave front และ Shack-Hartmann technology ที่สามารถวัดค่าสายตาตอนกลางวันและตอนกลางคืนได้อย่างแม่นยำ รวมถึงวัดค่าบิดเบือน Lower และ Higher order aberrations อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เห็นแสงฟุ้งกระจายในเวลากลางคืน และปัจจัยอื่นๆ โดยนักทัศนมาตรศาสตร์ผู้ตรวจวัดด้วยเครื่องนี้ จะสามารถให้ข้อมูล เพื่อแนะนำเลนส์เฉพาะบุคคล ที่สามารถแก้ไขอาการสายตาสั้นในตอนกลางคืนได้อย่างตรงจุด ติดต่อนัดหมายตรวจวัดสายตาด้วยเครื่อง WAM
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน
1. ขนาดของรูม่านตา (Pupil size) เมื่ออยู่ในที่สว่างรูม่านตาจะหดตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แสงเข้าตามามากเกินไป และเมื่อเราอยู่ในที่มืด รูม่านตาจะขยายเพื่อให้แสงผ่านเข้ามาได้มากขึ้น แต่แสงจะตกก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้มองใกล้ได้ดีแต่มองไกลไม่คมชัด
2. Spherical Aberration คือ การที่รูม่านตาปรับขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรับแสงมากขึ้นในตอนกลางคืน ทำให้แสงไปโฟกัสที่จอรับภาพไม่เท่าเทียมกัน โดยแสงที่ผ่านจุดกึ่งกลางของตาดำจะไปตกที่จอรับภาพพอดี แสงที่มาจากบริเวณริม ขอบของรูม่านตาจะไม่ได้ตกที่จอรับภาพ เมื่อแสงที่ผ่านรูม่านตาเข้ามาไม่ได้โฟกัสที่จุดเดียวกันจึงเกิดภาพเบลอ สามารถแก้ไขได้ด้วยเลนส์เฉพาะบุคคล ที่มีเทคโนโลยี Wave Front
3. Chromatic Aberration คือการที่เซลล์รับภาพจะเปลี่ยนจากรับคลื่นแสงสีเหลืองในตอนกลางวัน มาเป็นการรับคลื่นแสงสีน้ำเงินที่มีความถี่สูงขึ้นในตอนกลางคืนแทน ซึ่งส่งผลให้เกิดสายตาสั้นประมาณ -0.50 D เนื่องจากแสงสีน้ำเงินจะตกก่อนจอรับภาพ
กลไกการเกิดภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน
สำหรับคนที่สายตาปกติ ในระยะ 6 เมตรที่มีแสงสว่างเพียงพอ เราจะรู้สึกเหมือนเห็นภาพชัดโดยที่ไม่ได้เพ่ง แต่ในความเป็นจริงนั้น ในเวลากลางวันแสงไม่ได้ตกลงพอดีที่จอประสาทตาเสมอไป บางครั้งแสงไปตกลงหลังจอประสาทตา ดวงตาของเราจึงมีระบบเพ่งอัตโนมัติ (Tonic Accommodation) ที่มีกำลังเพ่งประมาณ +0.50 D. ระบบนี้จะช่วยซูมภาพ ทำให้ภาพกลับมาโฟกัสที่จอประสาทตาพอดี เพื่อความคมชัดในเวลากลางวัน แต่ในเวลากลางคืนระบบนี้จะหยุดพัก
โดยปกติในเวลากลางวันที่มีแสงสว่างเพียงพอ ในระยะไกลที่ 6 เมตร ตาเรามีระบบช่วยโฟกัสภาพ เพ่งให้เลนส์ตาดึงแสงที่เลยจอประสาทตากลับมาโฟกัสและคมชัดได้ แต่ระบบนี้จะหยุดพักการทำงานในช่วงเวลากลางคืน
ในเวลากลางคืน เมื่อแสงสว่างไม่เพียงพอ แสงจะตกก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้มองใกล้ได้ดีแต่มองไกลไม่ชัด และในเวลากลางคืน ขนาดของรูม่านตาจะขยายเพื่อให้รับแสงได้มากขึ้น แต่ถ้าแสงเข้ามามากเกินไป จะเห็นภาพเบลอ เห็นแสงฟุ้งพร่า ทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดในเวลากลางคืน หรือภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia)
เมื่อแสงสว่างไม่เพียงพอ รูม่านตาจึงขยายเพื่อพยายามรับแสงเพิ่ม แสงจะตกก่อนถึงจอประสาทตา และขณะเดียวกันเมื่อแสงเข้ามากเกินไปจึงทำให้มองเห็นไม่เช็ด แสงฟุ้ง ภาพพร่ามัว
Reference:
Artal P, Schwarz C, Ca´novas C, Mira-Agudelo A (2012) Night Myopia Studied with an Adaptive Optics Visual Analyzer. PLoS ONE 7(7): e40239. doi:10.1371/journal.pone.0040239
ติดต่อปรึกษาตรวจวัดสายตากับโอคูระ | มิติใหม่ของร้านแว่นตา พร้อมบริการแบบส่วนตัว T : 02-645-0192 l M : 081-611-6823 l Line : @occura l FB / IG : occuravision
100/74 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 23 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320