แสงสีฟ้า อีกหนึ่งภัยเงียบอันตรายที่มักแฝงตัวมากับธรรมชาติ และแทรกซึมอยู่ในทุกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากแสงแดด หน้าจอทีวี จอมือถือ โน้ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต ที่เรามักใช้สายตาจับจ้องอยู่เสมอ ซึ่งหากเราไม่รู้จักวิธีป้องกันและดูแลสายตาที่ดี อาจส่งผลกระทบกับสุขภาพดวงตาของเราโดยไม่รู้ตัวได้! ในบทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับอันตรายจากแสงสีฟ้าว่าคืออะไร รวมถึงควรมีวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อช่วยถนอมสายตาของเราให้มากที่สุด
ทำความรู้จักกับอันตรายจากแสงสีฟ้าคืออะไร?
แสงสีฟ้า หรือ Blue Light คือคลื่นพลังงานที่เกิดได้จากแสงธรรมชาติและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะอยู่ในช่วงความยาวคลื่นสั้น ประมาณ 400 – 500 nm (โดยปกติแล้วสายตาของคนเรา จะสามารถรับความยาวของคลื่นพลังงานได้ประมาณ 400 – 700 nm) และมีพลังงานสูงใกล้เคียงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงดวงตาของเราด้วย
อย่างที่ได้กล่าวไปว่า แสงสีฟ้า เราสามารถพบเจอได้ทั้งจากแสงอาทิตย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งอันตรายจากแสงสีฟ้าเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากไม่ปกป้อง โดยเฉพาะสุขภาพของดวงตาที่อาจได้รับผลกระทบในระยะยาวได้
รู้ทัน ความอันตรายของแสงสีฟ้า!
ทำร้ายอวัยวะดวงตา :
แสงสีฟ้า เป็นคลื่นรังสีที่มีพลังงานสูง ที่สามารถทะลุเข้าไปและทำลายเซลล์รับแสงในดวงตาได้ ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา ไปจนถึงจอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้การมองเห็นแย่ลง
เกิดภาวะดวงตาอ่อนล้า :
อาการตาล้า ปวดตา ตาเบลอ แสบตา หรือเคืองตา เป็นอาการที่คนทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์มักจะพบได้บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของแสงสีฟ้าที่ปล่อยคลื่นแสงพลังงานสูงมากระทบต่อดวงตาของเราโดยตรง
ส่งผลต่อการนอน :
อันตรายจากแสงสีฟ้าไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพต่อดวงตาของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อฮอร์โมน Melatonin ซึ่งจะทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง ซึ่งหากได้รับในเวลากลางคืนหรือก่อนนอน ก็อาจส่งผลต่อการพักผ่อน ทำให้นอนไม่หลับได้
การดูแลและป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้า
หาเวลาสำหรับการพักสายตาบ่อย ๆ
ดูแลดวงตาคู่เดียวของเราให้ห่างไกลอันตรายจากแสงสีฟ้า ด้วยการหาเวลาพักผ่อนสายตาในทุก ๆ 20 นาที ด้วยการมองในระยะไกลประมาณ 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที ก็จะช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตาได้
รักษาระยะห่างจากหน้าจออุปกรณ์ต่าง ๆ
สำหรับคนที่ต้องใช้สายตาจ้องหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นประจำ ให้ปรับระยะห่างระหว่างดวงตากับหน้าจอให้อยู่ประมาณ 25 นิ้ว รวมถึงการเลือกใช้โหมดแสงถนอมสายตา ที่ช่วยลดแสงสีฟ้าในหน้าลง ก็จะช่วยเลี่ยงการเกิดอาการตาล้าได้
ปรับแสงสว่างในห้องให้เพียงพอ
การปรับสภาพแสงภายในห้องก็เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้าที่ดีอีกวิธีหนึ่ง แนะนำให้ขณะที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอและเหมาะสม ก็จะช่วยลดการเพ่งสายตาที่อาจทำให้เกิดอาการเกร็งหรือปวดบริเวณกระบอกตาได้ อีกทั้งยังจะช่วยให้การมองหน้าจอรู้สึกสบายตามากขึ้น
ติดฟิล์มกรองแสงบนหน้าจออุปกรณ์
สำหรับคนที่จำเป็นต้องใช้สายตาทำงานร่วมกับหน้าจออุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ขอแนะนำให้ติดฟิล์มกรองแสงสีฟ้าบนหน้าจออุปกรณ์ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความรุนแรงของแสงสีฟ้าที่จะเข้ามากระทบกับดวงตาของเราแล้ว ยังจะช่วยปกป้องหน้าจอจากรอยขีดข่วนต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ตัดแว่นสายตาที่กรองแสงสีฟ้าได้
อีกหนึ่งวิธีป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้าที่เหมาะสำหรับคนวัยทำงานยุคนี้ก็คือ การเลือกตัดแว่นตากรองแสงสีฟ้าที่สามารถช่วยปิดกั้นแสงสีฟ้าที่มาจากแสงแดดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญใส่แล้วสบายตา แถมยังจะช่วยถนอมสุขภาพสายตาของเราได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือคนที่ชอบเล่นสมาร์ตโฟนอยู่เป็นประจำ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาค่าสายตาไม่ปกติ ทั้งสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง มาป้องกันดวงตาของเราจากแสงสีฟ้ากับ Occura Vision เรามีบริการตัดแว่นสายตาที่สามารถป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการโดยนักทัศนมาตรด้านการตรวจวัดสายตาที่มีความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมมอบคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยให้คุณเลือกเลนส์กรองแสงสีฟ้าที่ได้มาตรฐาน สวมใส่ได้ยาวนาน สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-611-6823 หรือทาง LINE @occura